ลักษณะเรือนไทย 4 ภาค ประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคก็จะมีสภาพภูมิอากาศ และวิถีชีวิตชาวบ้านที่แตกต่างกันไป

ลักษณะเรือนไทย 4 ภาค

ลักษณะเรือนไทย 4 ภาค

ประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคก็จะมีสภาพภูมิอากาศ และวิถีชีวิตชาวบ้านที่แตกต่างกันไปทำให้แต่ละภาคมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นการเฉพาะ ลักษณะเรือนไทย 4 ภาค ดังนี้

เรือนไทยภาคเหนือ

ที่บางส่วนเดิมจะเป็นส่วนจะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นการเฉพาะ ที่แตกต่างจากภาคอื่น ที่โดดเด่นสามารถมองเห็นได้คือ เรือนกาแล เป็นเรือนของผู้มีฐานะ หรือผู้นำชุมชน มีความแตกต่างจากเรือนของสามัญชนทั่วไป เป็นการก่อสร้างด้วยความประณีต มีแบบแผนการก่อสร้างที่ดี มีการประดับ “กาแล” ซึ่งเป็นไม้แกะสมักที่สวยงามบนยอดหน้าจั่ว เรือนกาแลก่อสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ใต้ถุนสูงไม่มากนัก มักก่อสร้างเป็นแบบเรือนแฝด นิยมสร้างใหหนังหนึ่งใหญ่กว่าอีกหลังหนึ่ง ตามความเชื่อ เป็นเรือนที่มีหลังคาใหญ่มีชายคาคลุมเกือบทั้งหมด มีหน้าต่างไม่มากนัก ผนังผายออกมักทำเป็นฝาไหล หรือฝาไม้กระดานสามารถเลื่อนปิด-เปิดได้ มีครัวแยกออกไปเป็นสัดส่วน มี เติ๋น เป็นพื้นกึ่งเปิดโล่ง ใช้เป็นที่เอนกประสงค์สำหรับครอบครัว จะอยู่ตรงกลางระหว่างห้องนอนกับนอกชาน

ลักษณะเรือนไทย 4 ภาค ประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคก็จะมีสภาพภูมิอากาศ และวิถีชีวิตชาวบ้านที่แตกต่างกันไป

เรือนไทยภาคอีสาน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. เรือนหรือเฮือนเกย เป็นเรือนเดี่ยว แต่มีชายคาด้านหนึ่งยาวออกไปคลุมพื้นที่ใช้สอย ส่วนที่ยื่นออกไปนี้จะเรียกว่า เกย
  2. เรือนแฝด เป็นเรือนหลังคาทรงหน้าจั่ว สองเรืองสร้างชิดติดกัน ใช้โครงสร้างร่วมกัน มีเรือนหนี่งเป็นเรือนนอนมีผนังครบทุกด้าน เรียกว่าเรือนใหญ่ อีกเรือนเป็นเรือนเล็กอาจมีผนัง 3 ด้านใช้เพื่อเป็นการเชื่อมระหว่างชานภายนอกกับเรือนนอน
  3. เรือนโข่ง หรือเรือนแฝด เป็นการก่อสร้างที่แยกกัน ทำให้มีช่องทางเดินตรงกลาง มีพื้นที่เชื่อมติดกัน สามารถรื้อแยยเรือนโขงไปปลูกใหม่ได้ เรื่องอีสานจะมีเรือนไฟเป็นส่วนทำครัว แยกออกไปต่างหากทีหลังคาลาดชัน กว่าเรือนในภูมิภาคอื่น และจะมีลายตะเว็น หรือตะวัน ประดับไว้

เรือนไทยภาคกลาง

ลักษณะเรือนไทย 4 ภาค ประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคก็จะมีสภาพภูมิอากาศ และวิถีชีวิตชาวบ้านที่แตกต่างกันไป

เป็นกลุ่มชนที่มีหลายฃาติพันธุ์ ทำให้การปลูกสร้างบ้านเรือนที่ต่างกันออกไป แต่ที่คุ้นตามากที่สุดเห็นจะได้แก่ เรือนไทยภาคกลาง แบ่งเป็นเรือนเครื่องผูกที่สร้างด้วยไม้ไผ่ เรือนเครื่องสับสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง และเรือนเครื่องก่อสร้างที่สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน

เรือนไทยภาคใต้

ซึ่งเป็นภาคที่มีหลากหลายวัฒนธรรมและความเชื่อของคนภาคใต้ ทำให้การก่อสร้างบ้านที่พักแตกต่างกันออกไป อาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ

เรือนไทยมุสลิม

ลักษณะใต้ถุนสูง แต่จะไม่ใช้งานใต้ถุนมากนัก มีหลังคา 3 แบบ เรียกว่า สีมะ หรือปั้นหยา บลานอ หรือ มนิลา และแมและ หรือจั่ว รูปแบบที่พบส่วนใหญ่เป็นแบบ บลานอ มีจุดที่น่าสนใจได้แก่ภายในเรือนมักจะเปิดโล่งมีทางเดิมถึงกันหมด รวมถึงเรือนครัวที่อยู่หลังบ้านด้วย จะกั้นก็แต่เพียงห้องนอนหรือห้องละมาดขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนที่เปิดโล่งนี้จะแบบออกได้เป็น 4 ส่วน ตามการใช้งาน ได้แก่ส่วนที่สำหรับรับแขก ส่วนห้องโถง ท้ายเรือนเป็นส่วนครัว และจะมีส่วนผู้หญิงโดยเฉพาะ

เรือนไทยพุทธภาคใต้

เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาใหญ่ทรงปั้นหยา หรือหน้าจั่ว มีการกั้นห้องอย่างมิดชิด ไม่เปิดโล่ง แบ่งเป็นห้องนอน มี่โถงเชื่อมต่อมีส่วนนั่งเล่น และรับแขก ส่วนครัวจะจัดไว้ทางด้านหลัง


About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *