การดูแลโครงสร้างหลักและสาธารณูปโภคของบ้านให้น่าอยู่

การดูแลโครงสร้างหลักและสาธารณูปโภคของบ้านให้น่าอยู่

การดูแลโครงสร้างหลักและสาธารณูปโภคของบ้านให้น่าอยู่

การดูแลส่วนต่างๆ ของบ้านเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่มั่นคง แข็งแรงและปลอดภัยนั้น ไม่ใช่ดูแลเพียงเฟอนิเจอร์ภายในบ้านเท่านั้น โครงสร้างหลักของบ้านพร้อมสิ่งสาธรณูปโภคที่รวมกันเป็นบ้าน 1 หลังก็มีความสำคัญไม่น้อย วันนี้เราแนะการดูแลส่วนต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็นดังนี้

การดูแลโครงสร้างหลักและสาธารณูปโภคของบ้านให้น่าอยู่

การตรวจสอบและดูแลหลังคาบ้าน 

เนื่องจากหลังคาบ้านเป็นส่วนที่สำคัญป้องกันปัญหาด้านสภาพอากาศและภัยธรรมชาติต่างๆ ให้แก่ตัวบ้านและผู้อยู่อาศัย การตรวจสอบการรั่วซึมของหลังคา คราบเลอะเป็นรอยตะไคร่น้ำตามเพดานฝ้ามีส่วนสำคัญต่อการใช้สอยทั้งสิ้น หากเกินความเสียหาย มีรอยหัก แตกหรือร้าว รวมถึงการเคลื่อนที่ของกระเบื้องต้องรีบแก้ไข ปูกระเบื้องมุงหลังคาที่แตก และเปลี่ยนฝ้าใหม่

การดูแลโครงสร้างหลักและสาธารณูปโภคของบ้านให้น่าอยู่

การตรวจสอบพื้นกระเบื้อง

พื้นกระเบื้องที่ดีและอยู่ในสภาพปกติต้องไม่ปล่อยให้มีน้ำขัง หากมีน้ำขังอาจจะมีตะไคร่มาจับ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายโดยเฉพาะในคนสูงอายุ ดังนั้นการขัดและเช็ดน้ำให้แห้งจึงเป็นเรื่องสำคัญ

การดูแลโครงสร้างหลักและสาธารณูปโภคของบ้านให้น่าอยู่

การตรวจสอบท่อระบายน้ำ 

สภาพของท่อต้องไม่มีสิ่งใดขวางหรืออุดตัน ไม่ควรทิ้งขยะลงในท่อระบายน้ำ ควรทิ้งและทำการแยกประเภทของขยะในถุงขยะที่จัดเตรียมไว้

การดูแลต้นไม้ในสวน (ถ้ามี)
การดูแลต้นไม้ ตัดหญ้า ตัดกิ่งและทำความสะอาดสวนจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายจากสัตว์มีพิษประเภทต่างๆ ได้ เช่น งู ตะขาบ และบำรุงรักษาต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมและในปริมาณที่พอดีเพื่อให้ต้นไม้งามให้ร่มเงาไม่แห้งเหี่ยวและตายไป

การดูแลระบบไฟฟ้า
หมั่นเช็คสภาพระบบไฟฟ้าปลั๊ก สายไฟว่ามีรอยชำรุดเสียหายหรือไม่ หากพบความพกพร่องต้องรีบดำเนินการเปลี่ยนใหม่ให้มีสภาพพร้อมใช้งานในทันทีเพื่อความปลอดภัยของสมาชิกภายในบ้านไม่ให้เกิดอันตรายจาก ไฟฟ้ารัดวงจร ไฟช็อต ไฟรั่ว หรืออาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

การดูแลสี ความเสียหายของบ้านเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงอยู่เสมอ 
หมั่นตรวจสอบตัวบ้าน หากพบรอยร้าวไม่ว่าจะเป็นแนวเฉียง หรือแนวตรงรวมถึงพบว่าสีผนังเกิดสภาพฝุ่นคล้ายแป้ง หรือเกิดจุดดำเชื้อราตามผนัง ควรให้ช่างเฉพาะทางเข้าดูแลซ่อมแซมอุดรอย ทาสี ขัดเงา ทาเคลือบป้องกันปลวกให้เรียบร้อยเพื่อให้บ้านคงสภาพดีดังเดิม

การดูแลถังบำบัดหรือถังพักสิ่งปฏิกูล

ควรสูบตะกอนทุก 2 ปี ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและรักษามาตรฐานการใช้งานถังบำบัดนั้น ที่สำคัญที่มักลืมปฏิบัติกันก็คือการเติมจุลินทรีย์ธรรมชาติหรือ EM ผสมน้ำ ลงในถังทุกๆ

# เทคนิคดูแลบ้านแบบผิดๆ สร้างความเสียหายในระยะยาว

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *